วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

พระราชประวัติรัชกาลที่8



พระนาม : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

พระนามเต็ม : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลอดุลยเดช วิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทรอธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย

พระราชสมภพ : วันอาทิตย์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู ณ เมืองไฮเต็ลเบิร์ก ประเทศเยอรมันนีตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ พระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์และพระราชชนนีศรีสังวาลย์ โดยทรงมีพระพี่นางและพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระชนกชนนีอีก ๒ พระองค์คือ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณีวัฒนา และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช

เสวยราชสมบัติ : เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๒ ปี

พระราชโอรส-ราชธิดา : ไม่มี

สวรรคต : เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ รวมพระชนมพรรษา ๒๑ พรรษา

วัดประจำรัชกาล : ไม่มี


ตราประจำรัชกาล :


เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ. ๒๔๗๗
-ตั้งกรมศิลปากร

พ.ศ. ๒๔๗๘
-ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา
-กำเนิดโรงเรียนเทศบาล
-ให้ข้าราชการแต่งกายแบบสากล
-เริ่มทดลองปลูกยาสูบพันธุ์เยอร์วิเนียทางภาคเหนือ

พ.ศ. ๒๔๗๙
-ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ
-เริ่มโครงการก่อสร้างทางหลวง ๕ ปีแรก

พ.ศ. ๒๔๘๐
-เริ่มแก้ไขสนธิสัญญากับนานาประเทศครั้งใหม่
-เริ่มให้มีการอุดหนุนโรงเรียนราษฎร์

พ.ศ. ๒๔๘๑
-ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า
-สร้างท่าเรือกรุงเทพ คลองเตย

พ.ศ. ๒๔๘๒
-ประกาศใช้ประมวลรัษฎากรฉบับแรก
-เปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย ”
-สร้างกรีฑาสถานแห่งชาติ
-จัดตั้งธนาคารชาติ
-ตราพระราชบัญญัติการทำสวนครัว

พ.ศ. ๒๔๘๓
-สร้างวัดพระศรีมหาธาตุ
-ตั้งบริษัทไทยเดินเรือทะเล และบริษัทประมงไทย
-ก่อตั้งนิคมสร้างตนเองแห่งแรกที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
-เริ่มงานสร้างพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยครั้งแรก
-เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนกับฝรั่งเศส

พ.ศ. ๒๔๘๔
-เริ่มใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่เริ่มจัดการศึกษาผู้ใหญ่
-ห้ามนุ่งโจงกระเบน
-เลิกใช้บรรดาศักดิ์
-ญี่ปุ่นส่งกำลังเข้าประเทศไทย เมื่อ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔
-ทำสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่น
-สงครามมหาเอเชียบูรพา
-เกิด "เสรีไทย" เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น

พ.ศ. ๒๔๘๕
-ประกาศสงครามอังกฤษและอเมริกา
-เปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
-ประกาศใช้พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ
-ปรับปรุงการใช้ภาษาไทย ( ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม )
-ตั้งมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์
-ตั้งกระทรวงอุตสาหกรรม

พ.ศ. ๒๔๘๖
-ตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-ตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร

พ.ศ. ๒๔๘๘
-ประกาศใช้พระราชบัญญัติครู
-เลิกใช้ธนบัตร ราคา ๑,๐๐๐ บาท
-สงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบ
-ประกาศว่าการประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ

พ.ศ. ๒๔๘๙
-ทำสัญญาสมบูรณ์แบบกับอังกฤษ
-เสด็จสวรรคตเมื่อ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙

วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ยีนและโครโมโซม

ยีนและโครโมโซม

เรื่องยีนและโครโมโซมจากกระบานการทางเทคโนโลยีชีวภาพเกือบทั้งหมดในปัจจุบันนั้น ต้องอาศัยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุ์กรรมของสิ่งมีชีวิต ที่เรียกว่า พันธุวิศวกรรม ( Genetic engineering ) ซึ่งสามารถทำได้โดยการตัดต่อยีนยีน หมายถึง ส่วนของ DNA ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โครโมโซม เป็นโครงสร้างที่มี DNA และโปรตีนเป็นองค์ประกอบ โครโมโซมจึงเป็นที่อยู่ของยีนและในแต่ละโครโมโซมมียีนอีกมากมายมาเรียงต่อๆกัน ดังนั้นลักษณะทางพันธุกรรม ที่ถูกถ่ายทอดไปจึงถูกควบคุม โดยยีนในโครโมโซมนั่นเอง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ยีนในออโตโซม และยีนในโครโมโซมเพศยีน ยีน คือ คำสั่งที่ให้สิ่งมีชีวิตมีลักษณะตามพันธุ์ของมัน


ยีน

ยีน อยู่ในเซลล์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตจะมียีนอยู่เป็นจำนวนมากขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตนั้น ยีน เป็นสารเคมีที่ เรียกว่า ดีเอ็นเอ ( DNA-Deoxyribonucleic acid ) ซึ่งการเรียงตัวของหน่วยย่อยนี้เป็นตัวกำหนดลักษณะทางพันธุกรรม ที่สามารถถ่ายถอดไปยังลูกหลานได้ เรียกว่า เบส เราคงเคยได้ยินบ่อยครั้งว่ายีนคือ หน่วยพันธุกรรม ที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ ไปสู่ลูกหลานได้ ยีนเป็นส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอ ที่มีส่วนประกอบของเบสสี่ตัวเรียงราย กันอยู่ อาจอยู่บนโครโมโซม หรือส่วนอื่นใดของเซลล์ก็ได้ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด จะมีมวลสารดีเอ็นเอ และจำนวนยีนแตกต่างกัน เช่น แบคทีเรีย มียีนประมาณ 4,000 ยีน แมลงหวี่ 20,000 ยีน พืชชั้นสูง 30,000-50,000 ยีน และ มนุษย์ประมาณ 100,000 ยีน เป็นต้น

มวลสารดีเอ็นเอและจำนวนยีนจึงเป็นเอกลักษณ์ของสิ่งมีชีวิต แต่ละชนิดพันธุ์ (species) ซึ่งเรียกกันทางวิชาการว่า จีโนม (genome) ดังนั้นจีโนมข้าวจึงเล็กกว่า จีโนมของมนุษย์ ยีนในสิ่งมีชีวิตอาจจัดเป็นสามกลุ่ม 1) ทำหน้าที่สร้างโปรตีน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในโครงสร้าง และการทำปฏิกริยาทางเคมี 2) ทำหน้าที่ กำกับ การทำงานของยีนตัวอื่น ที่จะกำหนดให้ทำหน้าที่ตรง ไหนและเมื่อใด (regulatory genes) 3) ยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ให้การใช้ ข้อมูลซึ่งเก็บอยู่ ในดีเอ็นเอนั้น ได้ถูกใช้อย่างถูกต้อง




โครโมโซม

โครโมโซมคือสารพันธุกรรมในร่างกายของมนุษย์ เป็นตัวกำหนดลักษณะต่างๆเช่น สีตา สีผม ความสูง และควบคุม การทำงาน ของร่างกาย โครโมโซมจะอยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย ในคนปกติทั่วไป แต่ละเซลล์จะมีจำนวนโครโมโซม อยู่ทั้ง หมด 23 คู่ หรือ 46 แท่ง โดยครึ่งหนึ่งคือ 23 แท่ง เราจะได้รับมาจากพ่อและอีก 23 แท่งจะได้มาจากแม่ และเราสามารถ ถ่ายทอดโครโมโซมครึ่งหนึ่งไปให้ลูกของเราได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีลักษณะเหมือนพ่อและแม่ ส่วนลูกของเรา ก็จะ มีลักษณะเหมือนเราและคู่ครองของเรานั่นเองดังที่กล่าวมาแล้ว คนปกติจะมีโครโมโซมอยู่ 46 แท่งในเซลล์ทุกเซลล์ จึงจะทำให้ร่างกายทำหน้าที่ได้ปกติ หากมีการเกินมาหรือขาดหายไปของโครโมโซมหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของโครโมโซม จะมีผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ และเกิดความพิการได้ยกตัวอย่างเช่นในกรณีที่มีโครโมโซมที่ 21 เกินมาหนึ่งแท่ง จะทำให้เกิดกลุ่มอาการผิด ปกติ ที่เรียกว่ากลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) ซึ่งผู้ที่มีลักษณะเช่นนี้ จะมีพัฒนาการช้า และอาจมีความผิดปกติของ อวัยวะอื่นๆร่วมด้วยเช่น หัวใจผิดปกติเป็นต้นโครโมโซม คือ ดีเอ็นเอ เกลียวคู่ (double helical DNA หรือ double strand DNA ) 1 โมเลกุล ที่จับเป็นสารประกอบเชิงซ้อนกับโปรตีนชนิดต่างๆ และสารอื่นๆ พบได้ในนิวเคลียส ของเซลล์พืชและสัตว์โครงสร้างซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ เล็ก ๆ ขดไปมาอยู่ในเซลล์โครโมโซมมีองค์ประกอบเป็นสารเคมีประเภท โปรตีน และกรดนิวคลีอิก ขณะแบ่งเซลล์โครโมโซมจะหดสั้นเข้าจนมีลักษณะเป็นแท่ง ๆเยื่อหุ้มนิวเคลียสจะสลายไปทำให้เห็นโครโมโซมลอยอยู่ในไซโทพลาซึม สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ จะมีจำนวนโครโมโซมแตกต่างกันไป จำนวนโครโมโซมนี้เป็นจำนวนที่แน่นอนและ คงที่สำหรับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดเช่น คน ในเซลล์ร่างกายแต่ละเซลล์มีโครโมโซม 23คู่ หรือ 46 แท่ง เซลล์สืบพันธุ์มีจำนวนโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่งของเซลล์ร่างกาย กล่าวคือ เซลล์ไข่ของคนมีจำนวนโครโมโซม 23 แท่งและอสุจิของคนก็มีจำนวนโครโมโซม 23แท่ง





โรคทางพันธุกรรม

โรคทางพันธุกรรม หมายถึง โรคที่มีความผิดปกติขององค์ประกอบของยีน และโครโมโซม ซึ่งจีนและโครโมโซมนี้เป็นตัวกำหนดลักษณะทางพันธุกรรม เมื่อมีความ ผิดปกติเกิดขึ้นจะทำให้เกิดการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์จากพ่อแม่สู่ลูกโดยตรง โรคทางพันธุกรรม

1.โครโมโซมร่างกาย
1.1 Down Syndrome คือ โครโมโซมแท่งที่ 21 เกินมา 1 แท่ง เรียกว่า trisomy 21 ผู้ป่วยมักมีไอคิว 20-50
1.2 Edward Syndrome คือ trisomy 18 มักเกิดในเพศหญิง และมีอายุไม่เกิน 1 ปี
1.3 Patau Syndrome คือ trisomy 13 มักมีอายุไม่เกิน 1 ปี1.4 Cri Cu Chat Syndrome (Cat cry syndrome) คือ ขาดแขนข้างสั้นของโครโมโซมคู่ที่ 5 ผู้ป่วยจะมีเสียงร้องเหมือนลูกแมว พบในเพศหญิงมากกว่าชาย ปัญญาอ่อนมาก

2.โครโมโซมเพศ
2.1 Klinefelter syndrome คือ โครโมโซม x เกินมา 1 แท่ง เป็น xxy (47 แท่ง) ผู้ป่วยจะมีอัญฑะเล็ก มีเต้านม (ชาย)
2.2 Turner syndrome คือ โครโมโซม x หายไป 1 แท่ง เป็น xo(45 แท่ง) ผู้หญิงคนนั้นจะเป็นหมัน
2.3 Triple x syndrome คือ โครโมโซม x เกินมา 1 แท่ง เป็น xxx (47 แท่ง) ผู้หญิงคนนั้นจะเป็นหมัน เจริญไม่เต็มที่ ไม่มีประจำเดือน
2.4 Double y syndrome โครโมโซม y เกินมา 1 แท่ง เป็น xyy (47 แท่ง) เป็นชายที่ร่างกายปกติ แต่เป็นหมันและมีอารมณ์ฉุนเฉียว พบมากในนักโทษคดีข่มขืน


ชนิดของโรคทางพันธุกรรม จำแนกได้ 3 ชนิด คือ
1. โรคทางพันธุกรรมที่เกิดความผิดปกติในการแบ่งตัวของโครโมโซม ขณะกำลังเกิดการปฏิสนธิ หรือขณะที่ไข่และอสุจิผสมกันเป็นตัวอ่อนแล้ว
2. โรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติในการเรียงตัวของโครโมโซม
3. โรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติในการแยกคู่ของโครโมโซมในระหว่างการแบ่งตัว


โรคทาลัสซีเมีย

เป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของสารสีแดงในเม็ดเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการโลหิตจางเรื้อรัง จากความปกติของโกลบินทำให้สามารถแบ่งแยกประเภทของโรคทาลัสซีเมียได้ 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
1.1 แอลฟาทาลัสซีเมีย เป็นโรคธารัสซีเมียที่เกิดจากการสร้างสร้างโกลบินสายแอลฟา ลดน้อยลง หรือไม่มีการสร้างเลย (ชนิดนี้พบมากที่สุดในประเทศไทย)
1.2 เบตาทาลัสซีเมีย เป็นโรคธารัสซีเมียที่เกิดจากการสร้างสร้างโกลบินสายบีตา ลดน้อยลง หรือไม่มีการสร้างเลย
1.3 แอลฟา-เบตาทาลัสซีเมีย เกิดจากความบกพร่องของเส้นกรดอะมีโนแอลฟาและเบตา การดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นทาลัสซีเมีย ผู้ที่เป็นพาหะ จะมีสุขภาพเหมือนกับคนปกติทั่วไป ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาใด ๆ นอกจากควรระวัง ก่อน การมีบุตร ซึ่งถ้าคู่ครองปกติลูกที่คลอดออกมาจะเป็นพาหะทั้งหมด และถ้าคู่ครองเป็นพาหะเหมือนกันลูกที่คลอด มาจะมีโอกาส เป็นโรคธารัสซีเมีย 1 ใน 4 แต่ถ้าคู่ครองเป็นโรค ลูกที่คลอดมา จะมีโอกาสเป็นโรค 2 ใน 4 ส่วนผู้ที่มีอาการต้องคอยระวังไม่ให้ร่างกาย อ่อนแอหรือมีไข้สูงเพราะจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย ต้องรับประทาน อาหารที่ช่วยสร้างเม็ดเลือด และหลีกเลี่ยง อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาเพิ่มเม็ดเลือด ที่มีธาตุเหล็ก สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงหมอจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าต้องทำการรักษาให้หายขาดหรือไม่ โดยการรักษาให้หายขาดจะ ทำได้ 2 วิธี คือ การปลูกถ่ายไขสันหลัง และการปลูกถ่ายจากเลือดสายสะดือ การรักษาจะต้องทำกับผู้ป่วยที่มีอายุ และน้ำหนักน้อย และจะต้องตรวจสอบการต่อต้านเม็ดเลือดขาว เสียก่อน การรักษาให้หายขาดจะทำได้แต่ความผิดปกติทางยีนยังคงอยู่เหมือนเดิม และค่ารักษาพยาบาลจะสูงมาก เบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ 1000,000-400,000 บาท และสถานที่รักษาพยาบาลมีอยู่น้อยมาก จะมีเพียง โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยเท่านั้นเพราะจะมีเครื่องมือในการสอนนักศึกษา


โรคฮีโมฟีเลีย

มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์แบบ X-linked (มีความผิดปกติที่โครโมโซม X) เช่นเดียวกับภาวะพร่องเอนไซม์ จี-6-พีดี ดังนั้นจึงพบว่า มีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่เป็นโรคนี้ ผู้หญิงจะมีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ซึ่งไม่แสดงออกแต่สามารถ ถ่ายทอดไปให้ลูกหลาน ผู้หญิงส่วนน้อยมากที่อาจมีอาการของโรคนี้ แต่ จะต้องมีทั้งพ่อและแม่ ที่มีกรรมพันธุ์ของโรคนี้ทั้งคู่

อาการของฮีโมฟิเลีย ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออกง่ายเป็น ๆ หาย ๆ มาตั้งแต่เด็ก มักจะเริ่มมีอาการ เมื่อเด็กเริ่มเคลื่อนไหวด้วยตนเอง (หลังอายุ 6 เดือนขึ้นไป) มักจะออกเป็น เป็นจ้ำใหญ่ (ไม่เป็นจุดแดง) •หรือออกเป็นก้อนนูน โดยมักเกิดจากการกระทบ กระแทกเล็ก ๆ น้อย ๆ บางคนอาจมีบาดแผล (เช่น มีดบาด) และมีเลือดออกนาน และหยุดยาก บางคนอาจมีเลือดออกในกล้ามเนื้อ จนซีดและช็อก บางคนอาจมีเลือดออกโดยเกิดขึ้นเองก็ได้ ที่มีอันตรายร้ายแรง คือ อาจมี เลือดออกเองในข้อ (ที่พบได้แก่ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อมือ ข้อเท้า) บางคนอาจมีเลือดออกในกล้ามเนื้อ จนซีดและช็อก บางคนอาจมีเลือดออกโดยเกิดขึ้นเองก็ได้ ที่มีอันตรายร้ายแรง คือ อาจมี เลือดออกเองในข้อ (ที่พบได้แก่ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อมือ ข้อเท้า) ทำให้มีอาการ ปวดบวม แดง ร้อน คล้ายข้ออักเสบ หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ข้อติด แข็งพิการได้ ถ้ามีเลือดออกในกล้ามเนื้อของคอหรือกล่องเสียง ทำให้กดหลอดลม อาจมี อันตรายถึงตายได้ ถ้ามีเลือดออกในสมอง อาจทำให้ผู้ป่วยตายได้โรคดาว์นซินโดรมเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เด็กจะมีอาการปัญญาอ่อน และหน้าตาดูแปลกไปจากปกติ มักพบในเด็กที่แม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุเกิน 35 ปี


โรคท้าวแสนปม (neurofibromatosis)

เป็นโรคผิวหนังเป็นปม เป็นติ่งงอกตามตัวเต็มไปหมดนับเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ แสน ปม จึงเป็นที่มาของชื่อโรคนี้ โรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรมถ่ายทอดไปโดยยีนเด่น หลายความว่าคนเป็นโรคนี้จะมีลักษณะของยีนที่เป็น homoygous dominant และ heterozygous ที่จะแสดงอาการของโรคนี้ ลักษณะผิวหนังจะพบว่ามีติ่งผิวหนัง มีปมมีตุ่มเต็มไปทั่วร่างกายจำนวนร้อย ๆ ขนาด ติ่งมีตั้งแต่ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวไปจนถึงก้อนเนื้อใหญ่ ๆ น้ำหนักอาจหนักถึง 2-3 กิโลกรัมก็มี ส่วนหนึ่งที่ไม่มีติ่งงอกขึ้นมา อาจมีสีเข้มขึ้นเป็นหย่อม ๆ ขนาด 2 - 5 เซนติเมตร•และมีลักษณะเป็นรูปไข่ บางหย่อมมีสีเข้มมากจนกลายเป็นปานดำและมีขนขึ้นมาเต็มแดงบริเวณรักแร้จะพบจุดดำ ๆ คล้ายตกกระไปหมด ติ่งหรือปมผิวหนังนี้ปกติมักจะไม่แสดงอะไรนอกจากมีขนาดโตขึ้นทุกวัน แต่บางรายเจ้าที่นิ่ม ๆ นี้อาจกลายเป็นเนื้อร้ายได้ เปอร์เซ็นต์ที่เป็นมีอยู่แค่ 2 - 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โรคนี้นอกจากพบความผิดปกติที่ระบบผิวหนังแล้ว ยังมีความผิดปกติที่ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบต่อมไร้ท่อ แลระบบกระดูก ความผิดปกติอาจพบที่ต่อมไร้ท่อ เช่น ทำให้มือเท้าโตเท่าใบพาย รูปร่างเตี้ย แคระแกร็น ระบบกระดูกอาจเกิดการผุกร่อน ทำให้เกิดอาการหลังค่อม หรือบางครั้งกระดูกถึงกับหักได้ บางรายเป็นโรคปัญญาอ่อน เป็นโรคชัก เป็นเนื้องอกในสมอง


ตาบอดสี

เป็นอาการที่ตาของผู้ป่วยแปรผลแปรภาพสีผิดไปจากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ อาการเหล่านี้มีเรื่องของกรรมพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็กผู้ชาย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากมารดาเป็นส่วนใหญ่ คนที่ตาบอดสีมักจะแยกสีแดงและสีเขียวค่อนข้างลำบาก โดยเฉพาะเวลาที่แสงไม่สว่างนัก ส่วนน้อยลงมาของคนที่มีตาบอดสี คือพวกที่ไม่สามารถแยกสีน้ำเงินฟ้ากับสีเหลือง จะมีบ้างเหมือนกันที่เป็นโรคตาบอดสีทุกสีเลย แต่เป็นส่วนน้อยมากการที่คนใดคนหนึ่งเกิดตาบอดสีขึ้น คนๆ นี้ก็ยังสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติเหมือนคนปกติทั่วๆ ไปได้ เพียงแต่การแปรผลผิดไปจากความจริงเท่านั้น ถ้าตาบอดสีไม่มากนักสามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้แว่นตา ทั้งนี้ควรปรึกษาจักษุแพทย์ ซึ่งจะตรวจเช็คสายตาและให้คำแนะนำในการปรับตัว ตลอดจนแนวทางในการรักษา


โรคคนเผือก (ALBINOS)

คือคนที่ไม่มีเม็ดสีที่ผิวหนัง ( เมลานิน ) เช่น คนที่มีผมสีขาว ตาสีอ่อนและผิวซีดที่มีสีปรากฏจากเส้นเลือดเท่านั้น เมลานิน (MELANIN) คือเม็ดสีที่สำคัญที่สุดของผิวหนังชื่อ ซึ่งมีสีน้ำตาลปรากฏอยู่ในเซลล์ของผิวหนัง ความเข้มข้นของเมลานินที่ผิวหนังของ คนๆ หนึ่งขึ้นอยู่กับพันธุกรรม แต่ก็เปลี่ยนแปลงได้ตามปริมาณแสง ที่มาสัมผัสกับผิวหนังของคน ๆ นั้น อาการของคนผิวเผือกโดยทั่วไปเหมือนคนปกติค่ะ เพียงแต่มีลักษณะภายนอกที่สังเกตได้คือนคนผิวเผือก (ALBINOS) จะไม่มีเม็ดสีที่บริเวณผิวหนัง เพราะร่างกายจะขาดเม็ดสีชื่อ เมลานิน (meianin) ซึ่งเป็นเม็ดสีที่ปรากฏอยู่ในเส้นผม ผิวหนัง และตาตามปกติ ในเมื่อคนผิวเผือกขาดเม็ดสีดังกล่าวเส้นผมจึงมีสีขาว ผิวขาว และตาจะมีสีชมพูหรือแดง เป็นลักษณะเฉพาะของคนกลุ่มดังกล่าวค่ะ ปัจจุบันก็มีคนเป็นบ้างในส่วนของสถิตินั้นไม่มีข้อมูลแน่ชัด


เบาหวาน (Diabetes mellitus)

เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ลมชักโรคทางพันธุกรรม มีโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมหลายชนิดที่มีอาการชักร่วมด้วย โรคเหล่านี้อาจมีความผิดปกติที่อื่นด้วย เช่น ภาวะปัญญาอ่อนและมีประวัติการชักในครอบครัว